วรรณกรรมท้องถิ่น เรื่อง ท้าวกำพร้าผีน้อย

ภารกิจพิเศษ  :    วิเคราะห์วรรณกรรมท้องถิ่น 


การวิเคราะห์วรรณกรรมท้องถิ่น
รายวิชาวรรณกรรมท้องถิ่น
เรื่อง  ท้าวกำพร้าผีน้อย

จัดทำโดย
นางสาวชนกวรรรณ  คำปัญญา
57210406225  ปี3 หมู่ 2

เสนอ
อาจารย์วัชรวร   วงศ์กัณหา


ภาคการศึกษาที่ 2/2559
คณะครุศาสตร์ สาขาวิขาภาษาไทย

มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์

**************************************************

คำนำ
                รายงานเล่มนี้เป็นส่วนหนึ่งของรายวิชาวรรณกรรมท้องถิ่น ซึ่งผู้จัดทำได้ทำการคัดเลือกวรรณกรรมที่สนใจมาทำการศึกษาเเละวิเคราะห์ ทั้งด้านเนื้อหา  ภาษา  รูปแบบต่างๆ  เพื่อประกอบการเรียนในรายวิชา และมีจุดมุ่งหมายเพื่อเผยเเพร่ให้ผู้ที่สนใจ ได้ทำการศึกษาเพื่อนำไปต่อยอดการวิเคราะห์งานวรรณกรรมในอนาคตได้หากรายงานเล่มนี้มีความผิดพลาดประการใด ผู้จัดทำก็ต้องขออภัยมา ณ   ที่นี้ด้วย
                                                

                                                                              นางสาวชนกวรรณ    คำปัญญา       
                                                                                                    (ผู้จัดทำ)

****************************************************

บทที่ 1
สรุปเนื้อหาวรรณกรรม


❇❇ท้าวกำพร้าผีน้อย❇❇


เรื่องย่อ
          ที่เมืองแห่งหนึ่งมีเด็กน้อยคนหนึ่งกำพร้าพ่อและแม่ ได้เที่ยวขอทานเขากินจนโตเป็นหนุ่มแล้วจึงออกจากเมือง มาทำนาทำไร่ ณ ที่แห่งหนึ่ง เมื่อข้าวพืชงอกงามขึ้น ได้มีสัตว์ต่างๆ มากิน แม้จะไล่อย่างไรก็ไม่ไหว เอาอะไรมาทำเครื่องดักก็ยังขาดหมด จึงไปขอเอาสายไหม จากย่าจำสวน (คนสวนของพระราชา) มาทำจึงจับได้ช้าง ช้างเมื่อถูกจับได้กลัวตายจึงร้องขอชีวิตและบอกว่าจะให้ของวิเศษถอดงาข้างหนึ่งให้ ท้าวกำพร้าผีน้อยจึงปล่อยไปแล้วเอางาช้างมาไว้ที่บ้าน ต่อมาท้าวกำพร้าดักได้เสือ เสือก็ยอมเป็นลูกน้อง โดยบอกว่าถ้ามีเรื่องเดือดร้อนจะมาช่วย
                   ต่อมาจับได้อีเห็น อีเห็นก็ยอมเป็นลูกน้อง เช่นเดียวกันกับเสือ ต่อมาจับพญาฮุ้ง (นกอินทรีย์) พญาฮุ้งก็ยอมเป็นลูกน้องอีก และตัวสุดท้ายจับได้คือผีน้อยที่มาขโมยกินปลาที่ไซ ผีน้อยก็ยอมเป็นลูกน้อง เมื่อท้าวกำพร้าได้งาช้างมาแล้วก็เอามาไว้ที่บ้าน ในงาช้างนั้นได้มีหญิงสาวคนหนึ่งชื่อสีดา อาศัยอยู่ นางได้ออกมาทำอาหารไว้รอท้าวกำพร้า
                   ต่อมาท้าวกำพร้าจับนางได้จึงทุบงาช้างนั้น เพื่อจะไม่ให้นางหลบเข้าไปอยู่อีก นางจึงอยู่กินเป็นสามีภรรยากันตั้งแต่นั้นมา ความสวยงามของสีดา ได้ยินไปถึงพระราชา เมื่อพระราชาเห็นแล้วก็รักใคร่จึงจะยึดเอาแต่ก็กลัวคนจะติเตียน จึงท้าท้าวกำพร้าทำการแข่งขันต่างๆ โดยถ้าท้าวกำพร้าแพ้จะยึดนางสีดามา แต่ถ้าพระองค์แพ้จะยอมยกเมืองให้ครึ่งหนึ่ง การแข่งขันนั้นคือ ชนวัว ชนไก่ แข่งเรือ แต่ปรากฏว่าท้าวกำพร้าชนะทุกครั้ง เพราะในการชนวัวนั้น เสือแปลงเป็นวัวมาช่วยท้าวกำพร้า ชนไก่นั้นอีเห็นแปลงเป็นไก่มาช่วย กัดไก่ของพระราชาตาย ในการแข่งขันเรือนั้นพญาฮุ้งมาเป็นเรือและได้ทำให้เรือพระราชาล่มแล้วกินคนทั้งหมด
                   เมื่อพระราชาตายแล้วได้รวมหัวกับบ่างลั่วตัวหนึ่ง โดยให้บ่างลั่วร้องเรียกวิญญาณของนางสีดามา โดยร้องครั้งแรกนางก็ไม่สบาย ครั้งที่สองสลบไป ครั้งที่สามจึงตายวิญญาณของนางจึงมาอยู่กับพวกผีพระราชา ส่วนท้าวกำพร้าปรึกษากับผีน้อย ผีน้อยบอกว่าอย่าเพิ่งเผา จะตามไปดูวิญญาณของนางอยู่ที่ใด เมื่อผีน้อยตามไปทราบเรื่องทั้งหมดแล้วจึงวางแผนจะจับบ่างลั่วตัวนั้น จึงเข้าไปตีสนิทกับบ่างลั่วแล้วสานข้อง (ที่ใส่ปลา) ครั้งแรกสานด้วยไม้ใผ่แล้วให้บ่างลั่วเข้าไปข้างใน แล้วให้ยันดูปรากฏว่าข้องแตก จึงสานด้วยลวด แล้วบอกให้บ่างลั่วเข้าไปดูแล้วบอกให้ยันดู ปรากฏว่าข้องไม่แตกจึงรีบหาฝามาปิดแล้วรีบเอามาให้ท้าวกำพร้าบังคับให้บ่างลั่วร้องเรียกเอาวิญญาณนางสีดากลับคืนมาไม่เช่นนั้นจะฆ่าเสีย บ่างลั่วจึงร้องเรียกเอาวิญญาณนางกลับมา โดยร้องครั้งแรกก็เคลื่อนไหว ครั้งที่สองฟื้นขึ้น ครั้งที่สามหายเป็นปกติทุกอย่าง
             พอทุกอย่างปกติแล้วท้าวกำพร้าจึงหลอกว่าขอดูไอ้ที่ร้องเอาวิญญาณคนได้ไหม บ่างลั่วจึงแลบลิ้นออกมาให้ดู ท้าวกำพร้าจึงตัดลิ้นบ่างลั่วนั้นเสีย เพราะกลัวมันจะร้องเอาวิญญาณไปอีก บ่างลั่วจึงร้องไม่ชัดตั้งแต่นั้นมา ส่วนท้าวกำพร้ากับนางสีดา ได้ปกครองเมืองแทนพระราชาที่ตายนั้น


***********************************************************************************



ที่มาและความสำคัญ
           ศิลปะวัฒนธรรมในภาคอีสาน นอกจากการฟ้อนรำและเครื่องแต่งกายอันเป็นเอกลักษณ์แล้ว สิ่งหนึ่งที่ถือว่ามีโดดเด่นเฉพาะด้าน คือ นิทานพื้นบ้านของภาคอีสาน ซึ่งเป็นการเล่าสืบต่อกันมา บ้างเป็นนิทานที่ให้คติสอนใจ บ้างเป็นเรื่องราวเกี่ยวกับประเพณีและขนบธรรมเนียม บ้างก็เป็นเรื่องราวเกี่ยวกับที่มาของสถานที่ต่าง ๆ จนทำให้มีนิทานพื้นบ้านอีสานมากมายนับไม่ถ้วน
 นิทานเรื่องท้าวผีน้อย  ก็นับว่าเป็นวรรณกรรมท้องถิ่นอีสานอีกหนึ่งเรื่อง ที่นับว่าเป็นวรรณกรรมอีสานที่มีความโดดเด่นในเรื่องการใช้ภาษา และจุดเด่นของนิทานเรื่องนี้คือ การสอนคุณธรรม  เชื่อว่านิทานเรื่องนี้เป็นอดีตชาติของพระโพธิสัตย์ ที่จุติมาใช้ชาติ และได้เกิดเป็นท้าวกำพร้า ก่อนจะอธิษฐานขอให้ได้ไปสู่นิพพาน และปรารถนาจะไม่เวียนว่ายตายเกิดในภพภูมิใดอีก  นอกจากนิพพาน ....

รายละเอียดหนังสือ :
              นิทานเรื่องท้าวกำพร้าผีน้อย เป็นคำกลอนโบราณอีสานที่จินดา ดวงใจ   ได้ปริวรรตมาจากต้นตำราใบลาน เป็นการแต่งขึ้นมาโดยใช้ สำนวนเดิมไว้เกือบทั้งหมด
   
เรียบเรียงโดย  :                                      >> คุณ จินดา  ดวงใจ  <<
                                     พิมพ์จำหน่ายโดย :   บริษัท ขอนเเก่น  คลังนานาธรรม  จำกัด
                                      161-6-8 ถนนกลางเมือง ต.ในเมือง อ.เมือง จ.ขอนแก่น 40000

                                      โทร  043 221346 043  221591  แฟกซ์ : 043 223482
                                                    


*********************************************************************************************

บทที่ 2 
การวิเคราะห์เนื้อเรื่อง
เนื้อเรื่อง
 วิเคราห์ชื่อเรื่อง
         คำว่า   "ท้าวกำพร้า"  
          มาจากชื่อเรียกตัวละครเอก เพราะตัวละครเอกเป็นเด็กกำพร้า ไม่มีพ่อแม่ ญาติพี่น้องไม่เลี้ยงดู และเป็นขอทานที่อยู่ในเมืองอินทปัตถา ชาวบ้านจึงเรียกว่า กำพร้า
         คำว่า   "ผีน้อย"
          มาจากชื่อของตัวละครตัวหนึ่ง  เป็นผีที่ท้าวกำพร้าจับได้เพราะมาขโมยกินปลาในไซของท้าวกำพร้าและเป็นตัวละครที่ช่วยท้าวกำพร้าชิงเอาวิญญาณนางสีดากลับมาอยู่ในร่าง จากบ่างลั่วได้
แก่นเรื่อง
          "ตกน้ำไม่ไหล  ตกไฟไม่ไหม้"
 หมายถึง ตกอยู่ในที่คับขันอย่างไรก็ไม่เป็นอันตราย ( อ้างอิงจาก : http://dictionary.sanook.com )

โครงเรื่อง
  กลวิธีในการดำเนินเรื่อง
              เป็นการเล่าเรื่องแบบปฏิทิน คือ เล่าตั้งเเต่ตัวละครเกิด ดำเนินชีวิตไปเรื่อยๆจนถึงจุดจบ  ไม่มีการเล่าย้อนอดีต หรือสลับกลับไปกลับมา
  การเปิดเรื่อง
                เปิดเรื่องด้วยการกล่าวถึงสถานที่ (เมืองอินทปัตถา) ที่จะดำเนินเรื่องราวจากต้นเรื่อง จนจบเรื่อง
 การดำเนินเรื่อง
       ๑.     กล่าวถึงเมืองอินทปัตถาเป็นเมืองที่มีอนาเขตกว้างใหญ่  มีผู้ปกครองคือ พระยาพิมมะทอง ที่พร้อมทั้งภาหนะ ไพร่พล และเเก้วแหวนเงินทอง แต่ไม่มีบุตร
       ๒.     กล่าวถึงท้าวกำพร้า เด็กที่เกิดมาไม่มีสิ่งใดเลย พ่อแม่ตายจากตั้งเเต่ยังเล็ก ต้องขอทานเลี้ยงชีพจนอายุ 16 ปี
       ๓.     ตากานบ้าน(ผู้ใหญ่บ้าน)  คิดกำจัดท้าวกำพร้า  จึงแนะนำให้ไปทำนาที่ทุ่งนาชายป่าซึ่งไม่มีใครทำกิน  เพราะเป็นถิ่นที่ผีดุร้ายอาศัยอยู่
       ๔.     ผีเเค้น จะจับท้าวกำพร้ากิน เพราะไปบุกรุก แต่เทวดาขอไว้ ผีจึงเปลี่ยนจากจะทำร้ายเป็นช่วยเหลือท้าวกำพร้าแต่นั้นมา
       ๕.    ท้าวกำพร้าทำไซดักปลา แต่ถูกผีน้อยขโมยกิน จึงปรึกษาผีย่าง่าม(ผู้เป็นใหญ่ในบรรดาผี) ย่าง่ามให้ขนทองทำบ่วงจับ
        ๖.     ท้าวกำพร้าได้บริวารและสหายเป็นผีน้อย เสือ  อีเห็น ช้างน้ำและนาค เพราะบ่วงย่าง่าม
        ๗.     ท้าวกำพร้าได้นางสีดาเป็นภรรยา จากงาช้างของช้างน้ำ (ท้าวกำพร้าทุบงาช้างจึงได้นางสีดามา)
        ๘.     พระยาพิมมะทอง รู้ข่าวว่านางสีดางดงาม อยากได้มาครอบครอง จึงท้าพนัน ชนไก่ ชนควาย ชนช้างกับท้าวกำพร้า ถ้าเเพ้จะยึดนางสีดา แต่ผู้ชนะคือท้าวกำพร้า
        ๙.     พระยาพิมมะทอง สั่งท้าวกำพร้ากินสัตว์ทั้งสามให้หมดเพราะเเค้นที่ตนเป็นฝ่ายเเพ้
        ๑๐.   นาค แปลงกายเป็นท้าวกำพร้า กินซากสัตว์จนหมด พระยาเเค้นจึงท้าเเข่งเรือ จนเป็นฝ่ายพ่ายแพ้เเละตายเพราะเรือเเตก
        ๑๑.   พระยาเเค้น จึงวางแผนกับบ่างลั้ว ให้เรียกเอาวิญญาณนางสีดา ทำให้นางสีดาตาย
       ๑๒.   ผีน้อยจึงวางแผนเอาวิญญาณนางสีดาคืน และตัดลิ้นบ่างลั้ว ไม่ให้เรียกเอาวิญญาณใครได้อีก

         ๑๓.   เมื่อสิ้นเจ้าเมืองคนเดิม ชาวเมืองจึงเชิญท้าวกำพร้าเเละภรรยาไปครองเมืองอิทปัตถา

การปิดเรื่อง
          หลังจากผ่านมรสุม ทั้งท้าวกำพร้าเเละภรรยาก็ได้ครองเมืองอย่างเป็นธรรมสืบไป...

ตัวละคร 
·      ท้าวกำพร้า
ลักษณะ    >> เป็นเด็กกำพร้า พ่อเเม่ตายตั้งเเต่ตนเองเกิด ต้องขอทานเลี้ยงชีพ จนเติบใหญ่  เป็นคนไม่คิดร้ายใคร  เเละมีบุญบารมี
·      เจ้าเมืองอินทปัตถา
ลักษณะ     >>  เป็นเจ้าเมืองผู้เปี่ยมด้วย ทรัพย์  บารมี และมีนิสัยอยากได้ของของคนอื่น และเจ้าคิดเจ้าเเค้น
·      ตากวนบ้าน
ลักษณะ >> เป็นผู้ใหญ่บ้าน และมีนิสัยไม่เป็นมิตร และคิดร้ายแก่ท้าวกำพร้า
·        ผีย่างาม
 ลักษณะ >>  เป็นผี ที่คอยให้การช่วยเหลือท้าวกำพร้า
·        ผีน้อย
ลักษณะ >>เป็นผี ที่มาขโมยปลาของท้าวกำพร้า และได้มาเป็นเพื่อนผู้ที่คอยช่วยผีกำพร้าเอาชีวิตนางสีดาคืน
·      ช้างพราย
ลักษณะ >> ตัวใหญ่ มีกำลังมหาศาล มีงาแก้ว        
·      นาค
ลักษณะ >> เป็นงูขนาดใหญ่  เป็นเจ้าเเห่งน้ำ และเป็นบริวาลท้าวกำพร้า 
·       บ่างลั้ว   
  ลักษณะ >> เป็นสัตว์อัปมงคล  สามารถเรียกเอาวิญญาณคนได้
·      เสือ
ลักษณะ >> เจ้าป่า ที่มีขนาดใหญ่เป็นสัตว์วิเศษที่มองไม่เห็นด้วยตาเปล่า
·      พญาอินทรีย์
ลักษณะ >>  สัตว์ที่มาติดบ่วงท้าวกำพร้า เเละยอมสวามิภักดิ์ต่อท้าวกำพร้า
          
ภาษา
                ภาษาที่ใช้ในเล่มเป็นภาษาอีสาน ตามตำราใบลานเก่า  คำในภาษาเป็นคำกลอนโบราณของภาคอีสาน มีศัพท์เฉพาะ และเป็นคำภาษาโบราณทั้งเล่ม มีการใช้คำสัมผัส ระหว่างวรรค และสัมผัสภายในวรรคด้วย ตัวอย่างภาษาที่มีความเป็นเอกลักษณ์  เช่น  คำว่า ตากวนบ้าน แปลว่า ผู้ใหญ่บ้าน   คำว่า พญาฮุ้ง  แปลว่า  นกอินทรีย์ที่มีขนาดใหญ่

 ฉากหรือสถานที่
            - เมืองอินทปัตถา
                          เป็นเมืองที่มีความอุดมสมบูรณ์  มีกษัตริย์ปกครองชื่อ พระยาพิมมะทอง
            - ทุ่งกว้างท้ายหมู่บ้าน
                          เป็นสถานที่ที่ท้าวกำพร้าไปทำนา และใช้ชีวิตอยู่จนเกิดการเปลี่ยนเเปลงชีวิตขึ้น
            -  หนองน้ำ

                          ที่ท้าวกำพร้าไปใส่ปลา และจับผีน้อย เสือ นาค  ช้างพราย ได้


******************************************************************************
บทที่ 3
ความโดดเด่น
ลักษณะความโดดเด่น

                   ในเรื่องท้าวกำพร้าผีน้อย  สิ่งที่โดดเด่นที่สุด คือภาษา ภาษาที่ใช้เป็นภาษาคำกลอนโบราณ       อีสาน ที่มีความยากและมีคำศัพท์ที่น่าสนใจ รวมทั้งกลวิธีในการเเต่งคำประพันธ์ ฉันทลักษณ์ต่างๆมีทั้งสัมผัสนอก สัมผัสใน     อีกหนึ่งจุดเด่นคือ เมื่อจะอ่านให้เข้าใจและพอแปลได้บ้าง   จะต้องอ่านเป็นคน หรือสำเนียงภาษาอิสานจึงจะสามารถเข้าใจเนื้อเรื่องที่อ่านได้


********************************************************************************
บทที่4
การนำไปประยุกต์ใช้ที่ผ่านมา
   นิทานเรื่อง  ท้าวกำพร้าผีน้อย มีการนำมาประยุกต์ใช้  ดังนี้
ลำเรื่องต่อกลอน

ชุด กำพร้าผีน้อย  ลำโดยป.ฉลาดน้อย / บานเย็น /ทองแปน สมพรน้อย / คมถวิล


ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ บทความ ท้าวกำพร้าผีน้อย


เเต่งเป็นกลอน สำหรับการเรียนการสอน  

              เเต่งโดย - วิสสุมาลี นิทาน กำพร้าผีน้อย
                  "ยินผีน้อย ฮ้องอ้าย...........บ่างหลง วางใจ
                     จึงบอกให้ ข้อยแค่............รัวลิ้น        
                     จักมีเสียง ออกไป........... เก็บเกี่ยว วิญญาณ
                     เพียงขานชื่อ เยื่อสิ้น-........ใจตาย ทุกราย
                      ท้าวกำพร้า จาต้าน...........ขอเบิ่ง ลิ้งบ่าง
                     ย้านมันฮ้อง ให้ตาย..........หลังปล่อย
                     ท้าวฯจาออย ว่าว่าง.........ใจเถิด
                     เกิดมาเทือ ข้าน้อย..........อยากเห็น ......"

เทศนาธรรมสอนใจ  
              เทศนาธรรมผ่านรายการวิทยุ สถานีวิทยุกระจายเสียง จังหวัดมุกดาหาร    Fm.99.25 MhZ   โดย : พระราชธีราจารย์    เจ้าคณะจังหวัดอุบลราชธานี  เจ้าอาวาสวัดมณีวนาราม




**************************************************************************

" Infographics "
>>   เรื่อง ท้าวกำพร้าผีน้อย  <<






แหล่งอ้างอิง  :
             http://oknation.nationtv.tv/blog/keepitup/2010/02/16/entry-6                       
             http://news.msu.ac.th/web/dublin.php?ID=13400259403#.WNYxMc_yjIU
             https://hilight.kapook.com/view/81805                                   
             https:// www.youtube.com/watch?v=b1owlpZzYsk

โดย  นางสาวชนกวรรณ  คำปัญญา   ปี3  หมู่ 2  

ความคิดเห็น